เข้าร่วมสัมมนา อย่างไร ให้ได้ความรู้ติดตัวกลับมาจริงๆ

2385
แบ่งปัน

ในปัจจุบันนี้ งานสัมมนา เกี่ยวกับการสร้างอาชีพ หรือสร้างรายได้นั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จนเลือกกันไม่ถูกเลยทีเดียว ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้น การเอาความโลภเข้ามาเป็นแรงจูงใจ เช่น สัมมนา เพื่อสร้างรายได้หลักล้าน หรืออ้างว่า จะทำให้ผู้ที่ เข้าร่วมสัมมนา รวยเป็นล้าน เพื่อทำให้คน มีความอยากที่จะเข้าไปร่วมฟัง ว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะได้เงินล้าน ส่วนใหญ่ ก็มักจะโดนความโลภบังตา ยอมเสียเงิน ค่าเข้าร่วมสัมมนา กันอยู่เรื่อยๆ ทำให้อาชีพ “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ “อาจารย์” เกิดขึ้นมากมาย ล่อใจให้ คนที่ไม่รู้จริง เห็นช่องทางทำมาหาจริง “ตั้งตนเป็นผู้รู้” แล้วก็เปิดคอร์สอบรม สัมมนา เพื่อหารายได้ จากค่าสัมมนา กันอย่างมากมาย พูดง่ายๆ ว่า ตอนนี้ หลักสูตรอบรม สัมมนา ที่จะทำให้ “รวย” มีมากขึ้นเป็นร้อยๆ หลักสูตร ในทุกๆ เดือน

ผมไม่ได้มีปัญหากับ อาชีพสัมมนา ของคนอื่นๆ นะครับ เพราะการที่ทุกท่าน มีความสนใจที่จะ เข้าร่วมสัมมนา ในด้านต่างๆ นั้น นับเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเพิ่มพูนความรู้ และสร้างไอเดียในการทำธุรกิจใหม่ๆ เพียงแต่ว่า ส่วนใหญ่แล้ว จะเจองานสัมมนา เชิงพาณิชย์ ที่ไม่ได้เน้นการให้ความรู้ที่แท้จริง แต่เน้นที่เงิน และผลกำไร เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ผู้เข้าสัมมนาได้รับ กลับไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเสียความรู้สึก ทั้งเสียเงิน และเสียเวลา แล้วแบบนี้ จะมีวิธีการพิจารณาหรือไม่ ว่าการสัมมนาแบบไหน ที่เข้าร่วมแล้ว เราจะได้รับความรู้ กลับมาจริงๆ

เรื่องเด็ดห้ามพลาด  รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก แล้วคุณภาพล่ะ?

ข้อพิจารณาหลักๆ ก่อนที่จะตัดสินใจไป เข้าร่วมสัมมนา ในแต่ละที่

1. ใครคือวิทยากร? ใครคืออาจารย์ ผู้ที่จะมาให้ความรู้? อันนี้ตรวจสอบ หาประวัติไม่ยากครับ แค่พิมพ์ใน Google ก็เจอแล้ว แต่.. หลักการพิจารณาก็คือ วุฒิการศึกษา ไม่ใช่ประวัติการสัมมนานะครับ หลายคนเข้าใจผิด พอเห็นผลการค้นหาในอินเตอร์เน็ต แล้วเห็นว่า อาจารย์คนนี้ ไปบรรยายหลายที่มากๆ สัมมนามาเยอะมากๆ ก็คิดว่า ต้องเก่งแน่นอน แต่นั่นไม่ใช่เลยครับ สิ่งสำคัญก็คือ พื้นฐานความรู้ ( Fundamental Knowledge ) คนที่จะมาเป็นอาจารย์เรื่องไหน พื้นฐานในเรื่องนั้นก็ต้องแน่น เช่น จะบรรยายเรื่องเกี่ยวกับกฏหมาย ก็ต้องจบกฏหมายมา ถ้าเอาคนที่จบคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ มาบรรยายกฏหมาย แม้จะฟังรู้เรื่อง แต่คิดว่า ผู้บรรยายท่านนั้น จะแตกฉานในศาสตร์ด้านกฏหมายจริงๆ อย่างนั้นหรือ? ผมเห็น ผู้ที่มาบรรยายทางด้าน คอมพิวเตอร์บ้าง ทางการตลาดออนไลน์บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้จบมาทางด้าน Computer และ Network เลย แล้วจะเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีอย่างถ่องแท้ได้อย่างไร? อันนี้ลองพิจารณากันเองนะครับ เวลาดูใน Google ให้ค้นหาประวัติแบบละเอียดเลยนะครับ ถ้าอ้างว่า จบมาจากสถาบันนั้น สถาบันนี้ ต้องตรวจสอบให้ชัวร์ๆ เลย ว่าจบมาจริงหรือเปล่า หรือมีแต่คำกล่าวอ้าง

เรื่องเด็ดห้ามพลาด  เรียนทำเว็บ ด้วย wordpress ซื้อหนังสือมาอ่าน ถูกกว่าเสียเงินเรียนเยอะจริงมั้ย

2. มีค่าใช้จ่ายหรือไม่? ถ้าเป็นการเข้าร่วมอบรม สัมมนา เป็นครั้งแรก กับอาจารย์คนนั้น หรือกับทางสถาบันนั้นๆ แนะนำให้เข้าร่วมอบรมในคอร์สฟรีก่อน เพื่อดูว่า คนที่มาสอน มีความรู้จริงหรือไม่ สอนแบบให้ความรู้จริง หรือเป็นการสัมมนาเชิงพาณิชย์?

การสัมมนาเชิงพาณิชย์ ก็คือ เทคนิคการหากินด้วยการสัมมนา นั่นคือ การจัด “สัมมนาฟรี” ที่ดูเหมือนจะดี แต่จริงๆ แล้ว เป็นการจัดคอร์สแบบ Introduction Course มากกว่า คือทำให้ผู้ที่มาเรียน ได้เรียนแล้ว รู้สึกอยากจะเรียนต่อ แล้วก็ต้องจ่ายเงินซื้อคอร์สนั่นเอง ถ้าพูดกันแบบชาวบ้านๆ ก็คือ สอนไม่หมด สอนแบบกั๊กๆ เน้นการโฆษณาชวนเชื่อเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยาก

3. ถ้ามีค่าใช้จ่าย ในแต่ละคอร์ส แพงเกินไปหรือไม่? อันนี้ต้องพิจารณาให้ดี ว่ามันคุ้มค่า กับความรู้ที่เราจะได้รับหรือไม่ ส่วนใหญ่ เวลาไปเข้าคอร์สฟรี มาแล้ว ก็จะรู้ว่า จริงๆ แล้ว มันคุ้มค่าหรือไม่? อันนี้ ให้ใช้การนำไปเปรียบเทียบกับที่อื่น แล้ววิเคราะห์ ถึงความแตกต่าง อย่าดูแค่เรื่องของราคา แต่ให้ดูในเรื่องของตัว อาจารย์ผู้สอน และสถานที่ด้วย

4. รูปแบบการสอน ในทุกๆ การสัมมนา ที่เราเห็นกันทุกวันนี้ แทบจะเรียกได้ว่า เป็นการเปิดตำราสอน เหมือนกับว่า อาจารย์ ไปซื้อหนังสือ แล้วถอดเนื้อหาในหนังสือ มาใส่ Powerpoint แล้วมาอธิบายให้ผู้เรียนฟัง ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย สิ่งที่เป็นแก่นแท้ หรือหัวใจหลัก กลับไม่สอน แต่สอนสิ่งที่เป็นน้ำๆ เพื่อยืดเวลาให้ครบชั่วโมง และยั่วให้ผู้เรียน อยากรู้มากขึ้นอีก เพื่อจะขายคอร์สถัดไป นี่คือหลักการทำ “ธุรกิจสัมมนา” ในเมืองไทย

เรื่องเด็ดห้ามพลาด  AppTep.com คือใคร ???

ข้อเสียของการเข้าร่วม สัมมนา ก็คือ ผู้ที่ เข้าร่วมสัมมนา จะได้รับความรู้ ตามที่ผู้สอน จะมอบให้เท่านั้น ก็เหมือนกับ เราไปซื้อหนังสือมาอ่านนั่นแหละครับ เค้าอยากให้เรารู้แค่ไหน เราก็ได้แค่นั้น ถ้าสงสัย ก็อาจจะถามได้ แต่คงถามตลอดไม่ได้ เพราะในห้อง ก็ไม่ได้มีแต่เราคนเดียวสักหน่อย จึงกลายเป็นข้อเสียที่ว่า อบรมไปแล้ว สัมมนาไปแล้ว แต่กลับบ้านมา ก็ทำไม่ได้ ได้แต่ความรู้ ..แค่รู้เฉยๆ

ผมจึงได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ จากการเปิดคอร์สใหญ่ๆ ทีละหลายๆ คน มาเป็นการสอนแบบ “ตัวต่อตัว” เน้นสอนเพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจจริงๆ และเอาไปใช้ได้จริง ไม่เปิดตำราสอน ไม่กำหนดเวลาที่แน่นอน เข้าใจเร็ว ก็จบเร็ว เข้าใจช้า ก็ยืดเวลาได้ ไม่จำกัด ถามได้ตลอด เพราะนั่งสอนกันแบบตัวต่อตัว สอนแบบเน้นๆ เอาแก่นแท้ มาว่ากันตรงๆ อันไหนที่เป็นน้ำๆ จะไม่เอามาสอนกันให้เสียเวลา ปัจจุบัน จึงไม่เห็นว่า ทาง AppTep ไม่เปิดคอร์สสัมมนาอีกแล้ว ยกเว้นแต่ การไปสัมมนาให้บุคลากรในองค์กร หรือบริษัท ได้ฟัง และได้ทำ Workshop เท่านั้น ที่จะมีคนเข้ามาร่วมสัมมนาเยอะๆ

แบ่งปัน
บทความก่อนหน้านี้มีเว็บเก่า แต่ไม่แสดงผลรองรับจอมือถือ ควรทำใหม่ หรือแก้ไขปรับปรุงดี?
บทความถัดไปรับทําเว็บไซต์ แบบ Responsive รองรับมือถือและแท็บเล็ต
คุณหนึ่ง Founder & CEO ของ บริษัท แอพเทพ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านการทำ Internet Marketing สำหรับธุรกิจออนไลน์ จบการศึกษาสาขา Computer Programming โดยตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2007 และทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ โดยเน้นงานด้าน Computer Security เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Penetration Testing ต่อมาได้เริ่มงานใหม่โดยการเป็น Web Developer ที่เน้นการทำ SEO และ Digital Marketing ที่ช่วยเพิ่มยอดขาย และเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์มากขึ้น จนได้เปิดบริษัท แอพเทพ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นเพื่อรับทำเว็บไซต์ สอนทำเว็บไซต์ และให้คำปรึกษาในการทำการตลาดออนไลน์ ให้กับบุคคลทั่วไป ร้านค้า บริษัท หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน