คนทำเว็บไซต์ ต้องรู้เรื่อง กฏหมายลิขสิทธิ์ ให้ดี

5278
แบ่งปัน

ถ้าจะให้พูดถึง กฏหมายลิขสิทธิ์ แล้วล่ะก็ ในเมืองไทยเรา ก็มีมาตั้งนานแล้วครับ แต่ความพิเศษของ กฏหมายลิขสิทธิ์ ฉบับเพิ่มเติม ที่เพิ่งประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ก็คือ มีการเน้นในเรื่องของการ “เอาผิด” ผู้ที่นำผลงาน รูปภาพ หรือข้อความ ของคนอื่น มาลงเว็บของตัวเอง หรือทำให้คนอื่นเข้าใจผิด ว่าเป็นผลงานของตัวเอง โดยไม่มีการระบุที่มา ของผลงานนั้นๆ และถึงแม้จะระบุที่มา แต่ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ก่อนนำมาเผยแพร่ หรือแชร์ต่อ ก็ถือว่า มีความผิดเช่นเดียวกัน

กฏหมายลิขสิทธิ์ กับ คนทำเว็บไซต์

อันนี้กลายเป็นเรื่องที่เรียกว่า Talk of The Town กันพอสมควร แต่หลายคน ยังรู้สึกเฉยๆ เพราะที่เป็นข่าวทั้งหลาย ก็ดูเหมือนกับว่า จะไปมุ่งเน้นที่ คนทำเว็บ เป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว กฏหมายลิขสิทธิ์ ตัวนี้ มันก็มีผลบังคับใช้หมด กับทุกอย่าง ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ , บล็อกส่วนตัว , กระดานสนทนา หรือเว็บบอร์ด หรือแม้กระทั่ง โซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook ก็หนีไม่พ้น หากจะมองอีกแง่มุมนึง ก็คงต้องบอกว่า Facebook อาจจะโดนเต็มๆ มากกว่า เว็บไซต์เสียอีก เพราะโอกาสในการจะ save ภาพจากที่อื่น แล้วเอามาลงทาง Facebook นั้น มีสูงกว่า เว็บไซต์ หลายสิบเท่า

ตัวบทกฏหมาย อาจจะอ่านแล้วงงๆ เพราะมันถูกเขียนตามภาษากฏหมาย เพื่อความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผมจะขอนำมาอธิบายแบบภาษาคนทั่วๆ ไป ที่สามารถจะเข้าใจกันได้ ถึงแก่นแท้ หรือเจตนารมน์ ของ กฏหมายลิขสิทธิ์ ฉบับนี้ กันเลยนะครับ

เรื่องเด็ดห้ามพลาด  แค่มี เว็บไซต์ เพิ่มขึ้นมา มันจะช่วยให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจริงๆ เหรอ

หลักๆ เลยก็คือ ห้ามนำผลงาน ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ หรือข้อความ ที่ตนเอง ไม่ได้เป็นคนทำขึ้นมา มาลงในเว็บไซต์ ของตัวเองโดยเด็ดขาด ถ้าจะนำมาลง ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงานนั้นๆ เป็นลายลักษณ์อักษร
  2. เมื่อนำมาลงใน เว็บไซต์ ของตนเองแล้ว ต้องระบุที่มา หรือให้เครดิตกับเจ้าของผลงาน พร้อมทั้งทำลิงค์กลับไปที่ เว็บไซต์ ของเจ้าของผลงาน (ถ้ามี)

ผลงานที่ว่ามานี้ รวมทุกอย่าง ได้แก่ ข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวีดีโอ

นอกจากห้ามนำผลงานของคนอื่นมาลงใน เว็บไซต์ หรือ Facebook ของตนเอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานแล้ว การนำผลงาน ของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ รูปภาพ หรือ คลิปวีดีโอ มาตัดต่อ โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน แล้วนำมาลงในเว็บไซต์ หรือ Facebook หรือ Youtube ของตนเอง ก็จะถือว่ามีความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกัน

พูดง่ายๆ ก็คือ จะเอาผลงานของคนอื่น มาตัดต่อ ดัดแปลง เพิ่มเติม ลดทอน อะไรก็ตาม เพื่อให้ดูไม่เหมือนกับของเดิมที่ป็นตัวต้นฉบับ แล้วจะได้อ้างว่า เป็นผลงานของตัวเอง ก็ไม่ได้เช่นกัน ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะทุกวันนี้ ทุกอย่าง สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด แม้แต่รูปภาพ ก็สามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน ว่าไปคัดลอกของคนอื่นมาหรือเปล่า

ดังนั้น ในฐานะที่คุณ คิดจะ ทำเว็บไซต์ หรือ กำลังทำธุรกิจอยู่บน Facebook ควรจะตระหนักเรื่องของ กฏหมายลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่นี้ เอาไว้ให้มากๆ เพราะคุณอาจจะโดนฟ้องร้องได้ง่ายๆ เพียงเพราะนำภาพจาก Facebook มาลงใน เว็บไซต์ แค่ภาพเดียว แค่นั้นเอง

เรื่องเด็ดห้ามพลาด  เรียนทำเว็บไซต์ ไปทำไม มีเงินจ้างเค้าทำทุกอย่างให้ก็ได้

แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นบ้าง เช่น การแชร์ภาพ หรือแชร์คลิป หรือแชร์ข้อความทาง Facebook อาจจะไม่เข้าข่ายความผิด เพราะในขณะที่ทำการแชร์ไปนั้น ก็ได้มีการแนบที่มาของผลงานนั้นไปด้วยอยู่แล้วในขณะที่แชร์ ที่จะผิดก็คือ copy รูปจากใน Facebook ของคนอื่น แล้วเอามาลงใน Facebook ของตัวเอง อันนี้ผิดแน่นอนครับ ถ้าแชร์ตามระบบของมัน ถือว่าไม่เป็นไรครับ หรือการ ฝังโค้ด หรือ embed โค้ดวีดีโอ เช่น Youtube มาลงในเว็บของตนเอง ก็ไม่ผิด เพราะมีลิงค์ถึงแหล่งที่มา เจ้าของคลิปเรียบร้อย

สำหรับสิ่งที่ไม่เป็นลิขสิทธิ์ ที่สามารถ คัดลอก แล้วนำมาลงเว็บ หรือเผยแพร่ได้ ก็คือ ข้อมูลทั่วๆ ไป เช่น ราคาหุ้น พยากรณ์อากาศประจำวัน ข่าว โปรแกรมหนัง ราคาน้ำมัน ผลการแข่งขันฟุตบอล และอื่นๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง ตัวอย่างที่ว่ามานี้ คือข้อมูล ที่เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่ผลงาน หรือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของใคร ดังนั้น ไม่ว่าใครก็สามารถนำไปลงใน เว็บไซต์ หรือเผยแพร่ได้

แต่ถ้าเป็นบทวิเคราะห์ ของ คอลัมนิสต์ ที่วิเคราะห์ข่าว อันนี้ถือว่า เป็นลิขสิทธิ์ของคอลัมนิสต์คนนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษร จากคอลัมนิสต์คนนั้น และทำการให้เครดิต รวมทั้งทำลิงค์กลับไปเจ้าของผลงานด้วย

เรื่องเด็ดห้ามพลาด  อยากมีเว็บไซต์ ต้องทำอย่างไรบ้าง

สรุปใจความสำคัญ กฏหมายลิขสิทธิ์ สำคัญยังไงกับคนทำเว็บไซต์

สิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมด สรุปใจความ ก็คือ อย่าไปเอาข้อมูล รูปภาพ ข้อความ จากใครก็ตามมา ไม่ว่าจะนำมาปรับปรุง แก้ไข แต่งเติมแล้วหรือไม่ก็ตาม ห้ามนำมาลงใน เว็บไซต์ หรือ Facebook ของร้านค้าตนเองเป็นอันขาด เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย (ถ้าเป็น Facebook ส่วนตัว อาจจะไม่เป็นไร เพราะดูเจตนา ว่าทำเพื่อการส่วนตัว หรือทำเพื่อการค้า) หากจำเป็นต้องใช้จริงๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ ให้ส่งอีเมล ไปขออนุญาตกับเจ้าของผลงานนั้นๆ เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อได้รับการตอบกลับมาว่าอนุญาต ให้นำไปเผยแพร่ได้ จึงค่อยนำมาลงเว็บ และต้องใส่เครดิต ด้วยนะครับว่าเป็นผลงานของใคร เอามาจากที่ไหน

หรืออีกทางเลือกนึง ที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดก็คือ ซื้อรูปออนไลน์เลยครับ ซื้อขาดเลย เป็นอันจบ สามารถเข้าไปซื้อได้ที่เว็บขายรูปออนไลน์ ที่มีอยู่เยอะแยะมากมายในอินเตอร์เน็ต เช่น ShutterStock.com

เรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ คนทำเว็บส่วนใหญ่ เน้นเอาความง่ายเข้าว่า จึงไม่ได้ใส่ใจตรงนี้ สุดท้าย ก็ต้องไปลงเอย ที่การถูกแจ้งความดำเนินคดี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันหลายหมื่นบาท โดยเฉพาะ เว็บไซต์ หรือ Facebook Page ที่ทำเป็นร้านขายของออนไลน์ อันนี้ยิ่งต้องระวังให้มากเป็นหลายเท่า และไม่ใช่แค่เรื่อง กฏหมายลิขสิทธิ์ เท่านั้นนะครับ ที่ร้านค้าออนไลน์ เหล่านี้ต้องระวัง แต่ต้องทำการ จดทะเบียนการค้า กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อีกด้วย ถ้าไม่ได้ลงทะเบียน ก็จะถูกตรวจสอบและดำเนินคดีได้นะครับ ซึ่งผมจะไปอธิบายกันชัดๆ อีกครั้งในบทความเรื่อง ทำเว็บขายสินค้าออนไลน์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ไม่จดโดนปรับเป็นแสน ติดตามอ่านกันได้ครับ

ภาพจาก Freepik